เรารักในหลวง

เรารักในหลวง
ในโลกใบนี้ไม่มีใครมีมีพระปรีชาสามารถเทียบเท่าในหลวงของเราอีกแล้ว โชคดีและภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยค่ะ

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรม คือ การนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ การกระทำสิ่งใหม่ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาการจัดการศึกษา นำมาใช้ในการจัดการ เรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนเทคโนโลยี คือผลสืบเนื่องจากจากนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ วิธีการและเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ประยุกต์เข้ากับความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้นำมาปฏิบัติในการจัดการศึกษาอย่างมีระบบการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ จะช่วยให้การจัดการศึกษามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ได้ผลผลิตสูงขึ้น ดังตัวอย่าง

“นวัตกรรม” (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น

“เทคโนโลยี”(Technology)ในการจัดการเรียนการสอนเช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิธีโอเทปการใช้วิทยุใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เช่น การรับบทเรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการอาศัยการใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น.

นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH

การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่ง

ประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“InnovationTechnology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา.

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา

การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ .-

1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น

2.ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น และ

3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน

INNOTECH หรือนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มี 18 ประการ

“อินโทเทค” มี 18 รายการ ดังต่อไปนี้ โดยพวก 11 ข้อแรก จัดเป็น “วิธีการ” และ 7ข้อ พวกหลัง จัดเป็น “เครื่องมือต่าง ๆ “

1. การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)

2. ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)

3. การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยึดหยุ่น (Modular Scheduling)

4. การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)

5. การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )

6. โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)

7. การเตรียมครูสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)

8. โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)

9. การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)

10. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)

11. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

12. การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)

13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

14.การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง(InstructionModule)ต้องผ่านวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบทเรียนก่อนที่จะเรียนบทต่อไป

15. โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)

16. โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational Television)

17. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)

18. วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)

ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

มีข้อคิด เตือนใจข้อควรคำนึงในเรื่องการแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการเรียนการสอนว่าการพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องใช้เวลาและวิธีการการคิด

จะปรับปรุงพัฒนางานวิชาการโดยแสวงหาแนวทางใหม่ๆให้ครูอาจารย์ผู้สอนใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ต้องค่อย ๆ ทำ ทำไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่คิดดำเนินการอะไรครู อาจารย์ในโรงเรียน จะลืมและไม่ใช้วิธีการใหม่ ๆ วิชาความรู้ ความคิดใหม่ ๆ จะหดหายไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะกลายเป็นครูผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง ไม่เตรียมสื่อการสอน หาเช้ากินค่ำ อ่านหนังสื่อสอนนักเรียน ขอเสนอ ข้อคิดเตือนใจด้วยภาพ จากหนังสือเอกสารประกอบกิจกรรมการพัฒนาวินัย เรื่อง การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดใหม่ ๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน

ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ

1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน

2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้

นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ

1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)

2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)

3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)

ที่มา : http://booda.212cafe.com/archive/

เทคโนโลยี คืออะไร

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ3ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย(ก่อสวัสดิพาณิชย์2517 :84)คือ
1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล(Productivity)เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด(Economy)เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

เทคโนโลยีคืออะไร เทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406)
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าว


ที่มา : http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/?q=node/98

http://gotoknow.org/blog/panusak/30374

“ แหลมผักเบี้ย-หนองหาร ” โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัญหาที่ได้รับการแก้ไขด้วยโครงการพระราชดำริโดยส่วนของโครงการศึกษา
วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น 2 ส่วนคือ ระบบบำบัดหลัก และ ระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน 5บ่อโดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้าย จะมีคณะวิจัยตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ

ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย1.ระบบบึงชีวภาพซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถ
เจริญได้ดีในน้ำขังเสียดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น
2. ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝกหญ้านวลน้อยหญ้ารูซี่เป็นต้นโดยจะส่งน้ำเสีย
ไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ และ
3. ระบบกรองด้วยป่าชายเลนโดยในพื้นที่ป่าชายเลน
จะปลูกโกงกางแสมขาวเป็นต้นเพื่อให้มีสภาพใกล้เคียง ธรรมชาติน้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัด
ตามธรรมชาติ


นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบัดน้ำเสียในอ.เมืองจ.สกลนครทั้งนี้พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริิให้วิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียโดยได้ทรงทอดพระเนตรน้ำเสียบริเวณ
หนองสนมข้างโรงงานผลิตน้ำประปาซึ่งมีแนวทางแก้คือรวบรวมน้ำเสียมาระบายลงหนองหาเป็นจุดเดียวกันเพื่อ
จัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติรวมกับการใช้เทคโนโลยีแบบประหยัด

น้ำเสียจากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อส่งและผ่านการบำบัดให้ดีในระดับหนึ่ง ก่อนส่งต่อไปยังแปลงพืชน้ำบำบัดแล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป สำหรับพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ธูปฤาษี กกเล็ก แพงพวยน้ำ บอน ผักตบชวา หญ้าปล้องละมาน เป็นต้น

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Science/Vie
wNews.aspx?NewsID=9490000075326

โครงการฝายทดน้ำบ้านห้วยคตและฝายทดน้ำบ้านหนองตาจอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี


ที่มา

นายสมจิตต์ เอี่ยมทอง ราษฎร บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ได้มีหนังสือขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างคลองส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือราษฎรซึ่งขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำบ้านห้วยคตและฝายทดน้ำบ้านหนองตาจอนไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549

แนวทางการช่วยเหลือ

ในตำบลทุ่งหลวง มีลำห้วยธรรมชาติสาขาของลำห้วยบง ความยาวประมาณ 6 กม. ในฤดูฝนมีปริมาณฝนตกมากเพียงพอที่จะเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง จึงเห็นควรพัฒนาลำห้วยดังกล่าวให้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร โดยก่อสร้างฝายทดน้ำ จำนวน 2 แห่ง คือ ฝายทดน้ำบ้านห้วยคต หมู่ที่ 16 และฝายทดน้ำบ้านหนองตาจอน หมู่ที่ 10 พร้อมขุดลอกลำห้วยบริเวณหน้าฝายทั้ง 2 แห่ง ความยาวประมาณ 2 กม.

http://www.ohmpps.go.th/prarajdumri.php?cg_id=117&ct_id=310

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



ความเป็นมา

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๒๖๔ ไร่ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรที่ดินดังกล่าว และทรงมีพระราชดำริกับอำเภอ จังหวัด และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่าง สาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งให้เกษตรกรตลอดจนผู้สนใจได้เข้าชมศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติมได้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้ทรงพระราชทานแนวทางการดำเนินงานให้แก่ศูนย์ มีพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื้อที่และพื้นที่โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน เนื้อที่ 655 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดของศูนย์ 1,895 ไร่
2. หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ บริเวณลุ่มน้ำโจน ในตำบลเขาหินซ้อน ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหมู่บ้านเป้าหมายในการปฏิบัติงานขยายผล จำนวน 15 หมู่บ้าน เนื้อที่ 113,214 ไร่
3. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 114 ไร่
4. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านธารพูด ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 32 ไร่


แนวทางการดำเนินงาน

1. ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงเปรียบเหมือน ต้นแบบ ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่น ๆ ได้ทำการศึกษา
2. มีการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักพัฒนาส่งเสริม และเกษตรกร การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่าง ๆ ที่ได้ผลแล้ว ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่
3. มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เน้นการพัฒนาแบบผสมผสาน อยู่บนหลักการและพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการแบบบูรณาการ เน้นการประสานงาน การประสานแผนและการบริหารจัดการระหว่างกรม กองและส่วนราชการต่าง ๆ ให้เกิดเป็นจริงขึ้น
5. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานพร้อมกันในทุกด้าน ทั้งด้านการฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาที่ดิน การเพาะปลูกพืช การปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ดังพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เสมือน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต (Living Natural Museum) เป็นการให้บริการ ณ จุดเดียวหรือศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ศูนย์ศึกษาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพัฒนา (Development Tourism) ให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ


วัตถุประสงค์

(๑) เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรในบริเวณลุ่มน้ำห้วยเจ็กและห้วยน้ำโจน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเขาหินซ้อนและตำบลเกาะขนุน มีพื้นที่ปริมาณ ๕๖,๐๐๐ ไร่ มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ คือ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อครอบครัวต่อปี และจะใช้พื้นที่เป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่าง เพื่อให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องที่อื่น ๆ ต่อไป
(๒) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางวิชาการ ในการหาลู่ทางพัฒนาการเกษตร และอาชีพของเกษตรกรในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี
(๓) เพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรม ให้ความรู้ทางวิชาการเกษตรและศิลปาชีพพิเศษแก่เกษตรกร

http://web.ku.ac.th/king72/2526/hinsont.htm

http://www.chachoengsao.go.th/ccsdb/index.php?option=com_content&task=view&id=652&Itemid=88

หญ้าแฝก โครงการของในหลวงเพื่อชาวไทย



หญ้าแฝก เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย มีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆ เกษตรกรไม่ต้องดูแลหลังการปลูกมากนักและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วยเป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้าง 5-9 มม. สามารถขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
หญ้าแฝกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ
หญ้าแฝกดอน รากไม่มีกลิ่น , ใบโค้งงอ , สุง 100-150 เซนติเมตร
หญ้าแฝกหอม มีรากที่มักลิ่นหอม , ใบยาวตั้งตรง , สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร
โดยมีคุณสมบัติพิเศษดังนี้
1. ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
2. อนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน
3. ป้องกันความเสียหายของบันไดดิน
4. ช่วยในการฟื้นฟูดิน
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 IECA ได้มีมติถวายรางวัล The International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝก ชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (award of recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

จากสภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผิวหน้าดินถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาและน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียดินที่อุดมสมบูรณ์ไป บางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลายก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร ส่งผลให้พื้นที่ซึ่งเดิมเคยให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมสูงกลับให้ผลผลิตลดลง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอแต่เนื่องจากการไหลบ่าของน้ำฝนจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนได้อย่างเต็มที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นและทรงตระหนักถึงศักยภาพของหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่จะช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดินได้ จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยได้พระราชทานพระราชดำริครั้งแรกกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( กปร. ) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ผู้เกี่ยวข้องในวาระต่าง ๆ อีกหลายครั้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร. ) ได้รวบรวมพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้ในโอกาสต่าง ๆ ตามลำดับเวลา ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อสนองพระราชดำริ



http://community.egat.co.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=111&Itemid=86

http://www.haarai.com/promoteweb/?_get_dalink=detail&_postid_=1c465

นวัตกรรม คืออะไร





คำว่า "นวัตกรรม" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "innovare" ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา" (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ,2547)

โทมัส ฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ มอร์ตัน (Morton,1971)

การสร้างนวัตกรรมในองค์การ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท (ภานุ, 2546) ได้แก่

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) เช่น ยาอมแก้เผ็ด :เวลากินของแซ๊บแล้ว พริกลวกปาก อมประเดี๋ยวเดียวก็หายเผ็ด
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เช่น ครูแบบพกพา : สอนที่ไหนก็ได้
นวัตกรรมการจัดการ (Manangement Innovation) เช่น การบริหารองค์การแบบไร้เจ้านาย
http://gotoknow.org/blog/9nuqa/11973>

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝนหลวง

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ

1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศ

และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น

2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น

3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น

4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ

5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่

ที่มา : http://www.prdnorth.in.th/The_King/rain.php

เศรษฐกิจพอเพียง




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้


"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"


ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

" การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "


"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

ที่มา : http://www.sufficiencyeconomy.org/

มูลนิธิชัยพัฒนา

มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) เป็นมูลนิธิซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่นๆเพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพัฒนาอื่นๆ

2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และให้สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้

3. ดำเนินการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม

4. ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์

5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง

เป้าหมาย
เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ คือ ชัยชนะแห่งการพัฒนา

ที่มา : http://www.thaigiving.org/node/89

โครงการแก้มลิง

ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยที่ร้ายแรงของวิกฤติน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ และทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขบัญหาเพื่อผ่อนคลายทุกข์เข็ญของพสกนิกรหลายประการ อาทิ การเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล โดยผ่านแนวคลองทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ให้มีพื้นที่สีเขียว เพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ขยายทางน้ำ หรือเปิดทางระบายน้ำในจุดเส้นทางคมนาคมสำคัญ ได้แก่ ทางหลวง และทางรถไฟ ประการสุดท้ายคือ การสร้างพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ชั่งคราว ก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำหลัก

โครงการแก้มลิง คือการจัดให้มีสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่เป็นบึงพักน้ำให้หน้าน้ำ โดยรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะระบายลงทางระบายน้ำสาธารณะ ฉะนั้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจึงไม่ไหลลงสู่ทางระบายน้ำในทันที แต่จะถูกขังไว้ในพื้นที่พักน้ำ รอเวลาให้คลองต่างๆ ซึ่งเป็นทางระบายน้ำหลักพร่องน้ำพอจะรับน้ำได้ จึงค่อยๆ ระบายน้ำลง เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง ได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการระบายน้ำแล้ว แนวพระราชดำริ แก้มลิง จึงผสานแนวคิดในการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย กล่าวคือ เมื่อน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ถูกส่งเข้าไปในคลองต่างๆ ก็จะไปบำบัด เจือจางน้ำเน่าเสีย ในคลองเหล่านี้ให้เบาบางลงแล้วในที่สุดก็จะผลักน้ำเน่าเสียที่เจือจางแล้วลงสู่ทะเล

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no36-41/king/sec04p03.html