เรารักในหลวง

เรารักในหลวง
ในโลกใบนี้ไม่มีใครมีมีพระปรีชาสามารถเทียบเท่าในหลวงของเราอีกแล้ว โชคดีและภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยค่ะ

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



ความเป็นมา

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๒๖๔ ไร่ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรที่ดินดังกล่าว และทรงมีพระราชดำริกับอำเภอ จังหวัด และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่าง สาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งให้เกษตรกรตลอดจนผู้สนใจได้เข้าชมศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติมได้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้ทรงพระราชทานแนวทางการดำเนินงานให้แก่ศูนย์ มีพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื้อที่และพื้นที่โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน เนื้อที่ 655 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดของศูนย์ 1,895 ไร่
2. หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ บริเวณลุ่มน้ำโจน ในตำบลเขาหินซ้อน ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหมู่บ้านเป้าหมายในการปฏิบัติงานขยายผล จำนวน 15 หมู่บ้าน เนื้อที่ 113,214 ไร่
3. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 114 ไร่
4. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านธารพูด ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 32 ไร่


แนวทางการดำเนินงาน

1. ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงเปรียบเหมือน ต้นแบบ ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่น ๆ ได้ทำการศึกษา
2. มีการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักพัฒนาส่งเสริม และเกษตรกร การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่าง ๆ ที่ได้ผลแล้ว ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่
3. มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เน้นการพัฒนาแบบผสมผสาน อยู่บนหลักการและพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการแบบบูรณาการ เน้นการประสานงาน การประสานแผนและการบริหารจัดการระหว่างกรม กองและส่วนราชการต่าง ๆ ให้เกิดเป็นจริงขึ้น
5. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานพร้อมกันในทุกด้าน ทั้งด้านการฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาที่ดิน การเพาะปลูกพืช การปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ดังพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เสมือน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต (Living Natural Museum) เป็นการให้บริการ ณ จุดเดียวหรือศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ศูนย์ศึกษาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพัฒนา (Development Tourism) ให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ


วัตถุประสงค์

(๑) เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรในบริเวณลุ่มน้ำห้วยเจ็กและห้วยน้ำโจน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเขาหินซ้อนและตำบลเกาะขนุน มีพื้นที่ปริมาณ ๕๖,๐๐๐ ไร่ มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ คือ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อครอบครัวต่อปี และจะใช้พื้นที่เป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่าง เพื่อให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องที่อื่น ๆ ต่อไป
(๒) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางวิชาการ ในการหาลู่ทางพัฒนาการเกษตร และอาชีพของเกษตรกรในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี
(๓) เพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรม ให้ความรู้ทางวิชาการเกษตรและศิลปาชีพพิเศษแก่เกษตรกร

http://web.ku.ac.th/king72/2526/hinsont.htm

http://www.chachoengsao.go.th/ccsdb/index.php?option=com_content&task=view&id=652&Itemid=88